วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย    
เป็นการนำความรู้พื้นฐานที่อาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฏ หรือบทนิยาม  ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับว่าเป็นจริง เพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป
  ตัวอย่าง   มนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งมีชีวิต และ นายแดงเป็นมนุษย์คนหนึ่ง เพราะฉะนั้น นายแดงจะต้องเป็นสิ่งมีชีวิต
  ตัวอย่าง 2   ปลาโลมาทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกตัวมีปอด
        ดังนั้น ปลาโลมาทุกตัวมีปอด
 ตัวอย่าง 3  แมงมุมทุกตัวมี 6 ขา  และสัตว์ที่มี 6 ขา ทุกตัวมีปีก   ดังนั้น แมงมุมทุกตัวมีปีก
 ตัวอย่าง 4  ถ้านายดำถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง   นายดำจะมีเงินมากมาย  แต่นายดำไม่ถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง
      ดังนั้น นายดำมีเงินไม่มาก
ถ้าผลสรุปตามมาจากเหตุที่กำหนดให้  เรียกว่า ผลสรุปสมเหตุสมผล   แต่ถ้าผลสรุปไม่ได้มาจากเหตุที่กำหนดให้ เรียกว่า ผลสรุปไม่สมเหตุสมผล
ตัวอย่างผลสรุปสมเหตุสมผล
 เหตุ      ปลาวาฬทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม    และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกตัวมีปอด
ผล       ดังนั้นปลาวาฬทุกตัวมีปอด

 ข้อสังเกต เหตุเป็นจริง และ ผลเป็นจริง
 เหตุ     แมงมุมทุกตัวมี 6 ขา    และสัตว์ที่มี 6 ขา ทุกตัวมีปีก
ผล        ดังนั้นแมงมุมทุกตัวมีปีก
ข้อสังเกต เหตุเป็นเท็จ และ ผลเป็นเท็จ
 เหตุ      ถ้านายดำถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง  นายดำจะมีเงินมากมาย แต่นายดำไม่ถูกล๊อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง
ผล         ดังนั้นนายดำมีเงินไม่มาก
ข้อสังเกต เหตุอาจเป็นจริงและผลอาจเป็นเท็จ
           ผลสรุปสมเหตุสมผลไม่ได้ประกันว่าข้อสรุปจะต้องเป็นจริงเสมอไป วิธีการตรวจสอบว่าผลสรุปสมเหตุสมผลใช้แผนภาพของ เวนน์ - ออยเลอร์  โดยวาดแผนภาพตามเหตุทุกกรณีที่เป็นไปได้แล้วพิจารณาว่าแผนภาพแต่ละกรณีแสดงผลสรุปตามที่กำหนดให้หรือไม่  ถ้าทุกแผนภาพแสดงผลสรุปตามที่กำหนดกล่าวว่า  ผลสรุปสมเหตุสมผล  แต่ถ้ามีบางแผนภาพไม่แสดงผลสรุปตามที่กำหนดให้จะกล่าวว่า  ผลสรุปไม่สมเหตุสมผล

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/90249

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น